วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554

แผนบริหารการสอนประจำหน่วยการเรียนที่ 7

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน

1. แหล่งข้อมูลการสืบค้นบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

หลักการค้นหาข้อมูลความรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ในการทำงานต่างๆ เช่น นักศึกษาทำการบ้านหรือทำรายงานส่งอาจารย์
หรือพนักงานบริษัทเตรียมการสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศ
มักจะต้องมีการหาข้อมูลประกอบการทำงานนั้นๆ บางครั้งข้อมูลอาจเป็นเพียงข้อมูลง่ายๆ เช่น ราคาสินค้า
อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทกับดอลลาร์สหรัฐ เป็นต้น
แต่บางครั้งอาจเป็นข้อมูลเชิงลึกที่ต้องมีการวิเคราะห์ เช่น แนวโน้มสภาวะเศรษฐกิจโลกในช่วง 1-2 ปี
ซึ่งต้องมีการพิจารณาปัจจัยต่างๆ รวมถึงเหตุการณ์ที่อาจเกิดหรือไม่เกิดในอนาคตประกอบด้วย ดังนั้นคำว่า
ข้อมูลความรู้ในที่นี้ จะรวมหมายถึงตั้งแต่ข้อมูลพื้นฐาน และข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลและ/
หรือจัดหมวดหมู่แล้วซึ่งเรียกว่า สารสนเทศ
ตลอดจนถึงข้อมูลเชิงลึกที่มีการวิเคราะห์ซึ่งควรจะเรียกได้ว่าความรู้ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่เราสามารถค้นหาได้จ
ากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ต่อไปนี้เราจะใช้คำว่าข้อมูลในความหมายกว้างที่รวมทั้งข้อมูล สารสนเทศ
และความรู้ด้วย
หลักการค้นหาข้อมูลมีดังต่อไปนี้
1.ต้องมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับข้อมูลที่ต้องการ คือ
1) รู้ว่าข้อมูลที่ต้องการนั้นเป็นข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องอะไร
2) รู้ว่าแหล่งข้อมูลที่มีข้อมูลนั้น น่าจะเป็นหน่วยงานใด
3) รู้ว่าสำคัญที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลนั้น มีอะไรบ้าง
2.ต้องรู้จักวิธีเข้าเว็บไซต์ต่าง ๆ
3.ต้องรู้จักวิธีใช้โปรแกรมสืบค้นข้อมูล หรือ เซิร์จเอ็นจิน (Search
engine)
4.ต้องรู้จักใช้ดุลพินิจว่า
1) ข้อมูลที่ได้มาเป็นข้อมูลที่ตรงกับความต้องการหรือไม่
2) ข้อมูลที่ได้มาเป็นข้อมูลที่เชื่อถือได้หรือไม่

การค้นหาข้อมูล
1.เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบต่าง ๆ และข้อมูลที่มีอยู่ในเครือข่าย
นักศึกษาได้รู้จักคำว่า “เครือข่าย”


และได้ทราบว่าระบบโทรศัพท์เป็นเครือข่ายสื่อสารอีกชนิดหนึ่ง คอมพิวเตอร์หลาย ๆ
เครื่องที่นำมาต่อเชื่อมกันสามารถรับส่งข้อมูลระหว่างกันได้เป็นเครือข่ายอีกชนิดหนึ่ง
ซึ่งทำให้คอมพิวเตอร์มีบทบาทในฐานะเครื่องมือสื่อสารที่ทันสมัย และมีประสิทธิภาพ
เมื่อผนวกกับความสามารถของคอมพิวเตอร์ในการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ
ดังตัวอย่างที่นักศึกษาได้ศึกษา เครือข่ายคอมพิวเตอร์จึงกลายเป็นแหล่งข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ
จึงสามารถค้นหาข้อมูลเกือบทุกอย่างที่ต้องการใช้ในการทำงานจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ เป็นเครือข่ายประเภทต่าง ๆ
ที่สร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ของการจัดเก็บและแลกเปลี่ยนข้อมูลโดยตรง
1.1
อินทราเน็ต (Intranet) เป็นเครือข่ายภายสำหรับองค์กรหนึ่ง
ๆ ข้อมูลส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร หรือข้อมูลเพื่อการใช้ประโยชน์ขององค์กร
คอมพิวเตอร์ที่ต่อเชื่อมกับเครือข่ายอาจอยู่ภายในตึกเดียวกัน
หรือกระจายกันอยู่ทั่วประเทศหรือทั่วโลกก็ได้ขึ้นอยู่กับว่าองค์กรนั้นมีขนาดเล็กหรือใหญ่
มีสาขามากน้อยเพียงใด ตัวอย่างอินทราเน็ตขนาดใหญ่ เช่น อินทราเน็ตของบริษัท โตโยต้า
จำกัดซึ่งมีสาขากระจายอยู่ทั่วโลก
อินทราเน็ตประเภทนี้จะทำให้บริษัทขนาดใหญ่ที่มีสาขากระจายอยู่ทั่วโลก
สามารถดูแลการดำเนินธุรกิจของสาขาต่าง ๆ ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน
1.2
เอกซ์ทราเน็ต (Extranet)
เป็นเครือข่ายภายในสำหรับองค์กรเช่นเดียวกับอินทราเน็ต
แต่เปิดให้สมาชิกภายนอกที่ได้รับอนุญาตต่อเชื่อมกับเครือข่ายได้ด้วย ตัวอย่างเครือข่ายแบบนี้ ได้แก่
เครือข่ายของบริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด ที่มีร้านค้าวัสดุก่อสร้างต่างๆ เป็นสมาชิกของเครือข่ายด้วย
เพื่อให้ร้านค้าเหล่านี้สามารถติดต่อสั่งซื้อสินค้าและรับบริการอื่นๆ จากบริษัทโดยสื่อสารผ่านเครือข่ายนี้
ปัจจุบันนี้เครือข่ายเอกซ์ทราเน็ตได้ถูกนำมาใช้อย่างมากในการจัดการสินค้าคงคลัง
(Inventory management) สำหรับแหล่งจำหน่ายสินค้าขนาดใหญ่ประเภท “ห้างลดราคา” (Discount Store)
หรือซูปเปอร์มาเก็ตขนาดใหญ่ที่มีสาขามาก
แหล่งจำหน่ายสินค้าประเภทนี้จะมีเครือข่ายเอกซ์ทราเน็ตซึ่งบริษัทผู้ผลิตหรือผู้ขายส่งสินค้ารายใหญ่
เป็นสมาชิกของเครือข่าย ข้อมูลสินค้าคงคลังจะเชื่อมโยนกับระบบการคิดเงินด้วยเครื่องอ่านรหัสแท่ง
(Barcode) และการตัดสต๊อกโดยอัตโนมัติ เมื่อสินค้ารายการใดลดลงถึงระบบที่จะต้องสั่งเพิ่มแล้ว
ข้อมูลจะถูกส่งไปแจ้งบริษัทผู้ผลิตหรือขายส่งสินค้านั้นโดยอัตโนมัติ
บริษัทนั้นก็จะนำสินค้ามาส่งได้ทันการ หากไม่มีระบบอัตโนมัติที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแล้ว
การบริหารสินค้าคงคลังจะต้องใช้คนจำนวนมากและมีอัตราผิดพลาดสูง
ในโรงงานอุสาหกรรมขนาดใหญ่ก็เช่นเดียวกัน
การสั่งซื้อชิ้นส่วนที่นำมาประกอบรถยนต์หรือเครื่องรับโทรทัศน์